https://stialan.ac.id/v3/wp-content/slots/ https://stialan.ac.id/v3/wp-content/ คัวตอง อัตลักษณ์ชุมชนเมืองเก่าเชียงใหม่ | Pastell Hotel Chiang Mai
loader

โรงแรมพาสเทล เชียงใหม่

check availability

“คัวตอง” อัตลักษณ์ชุมชนเมืองเก่าผ่านมุมมอง Pastell Oldtown Chiang Mai

“คัวตอง” อัตลักษณ์ชุมชนเมืองเก่าผ่านมุมมอง PASTELL OLDTOWN CHIANG MAI-facebook

หลายๆ คนที่ผ่านมาทางหน้าเพจ เว็ปไซต์ หรือได้มีโอกาสมาเข้ามาพักกับเราแล้ว อาจจะคุ้นชินกับงานเครื่องทองเหลืองที่ถูกนำมาประดับตกแต่งตามบริเวณต่าง ๆ ของโรมแรม อย่างโมบายลายฉลุตรงบริเวณประตูทางเข้า หรือล๊อบบี้โรงแรม

คัวตองที่ Pastell Oldtown

ซึ่งหากมองเผิน ๆ งานเครื่องทองเหลืองเหล่านี้ก็คงไม่ต่างจากงานเครื่องทองเหลืองที่เราพบเห็นทั่วไป จริงไหมคะ

แต่แน่นอนว่าสำหรับ Pastell Oldtown Chiang Mai เครื่องประดับทองเหลืองนี้ คงไม่ใช่แค่ของประดับตกแต่งธรรมดาทั่วไป

เพราะเครื่องทองเหลืองของชาวล้านนา หรือเรียกอีกชื่อว่า “คัวตอง” เปรียบเหมือนสัญลักษณ์ และเครื่องหมายอย่างเป็นรูปธรรม ที่บ่งบอกถึงวิถีชีวิตชุมชนเมืองเก่าได้อย่างชัดเจน ด้วยเหตุนี้การสืบสาน อนุรักษ์ไว้ให้กับผู้คนรุ่นหลังได้รับรู้และสืบทอดต่อไป จึงเป็นสิ่งที่ควรสื่อสาร บอกเล่าผ่านกาลเวลาไปกับ Pastell Oldtown Chiang Mai มากที่สุดค่ะ

“คัวตอง” คืออะไร

คัวตอง ในภาษาล้านนา หมายถึง “งานเครื่องทองเหลือง” หากจะแปลตามตัวนั้น “คัว” ก็หมายถึงงานฝีมืองานหัตถการ ส่วน “ตอง” ก็คือทองเหลือง นั่นเองค่ะ

ดอกไม้คัวตอง

การทำคัวตอง

คัวตอง จึงหมายถึง งานเครื่องทองเหลืองที่ถูกทำขึ้นมาอย่างประณีตด้วยการตีขึ้นรูป และนำมาฉลุลายด้วยฝีมือของ ‘สล่า’ หรือช่างคัวตอง

ในอดีตเครื่องทองเหลือง หรือคัวตองนี้ ชาวล้านนานิยมนำมาใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่งตามวัดวาอาราม บ้านเรือน ตามช่วงเทศกาลต่าง ๆ เพื่อความสวยงาม นอกจากนี้ยังนำมาประยุกต์ใช้เป็นเครื่องแต่งกาย เช่น ปิ่นปักผม เข็มกลัด สร้อย แหวน กำไล หรือเครื่องประดับฟ้อนรำของชาวล้านนาตามภาพที่คุ้นเคย

ความงามของคัวตอง

“คัวตอง” จึงถือเป็นงานศิลปะล้านนาดั้งเดิมที่หาชมได้ยากมาก มีเพียงชุมชนวัดพวกแต้มที่ยังคงสืบสานจากรุ่นสู่รุ่น จากองค์ความรู้ต่อยอดสู่แนวทางเศรษฐกิจชุมชน ความงดงามประณีตจากงานของสล่าพวกแต้ม จึงส่งผลให้ “คัวตอง” มีความโดดเด่น มีเอกลักษณ์ควรค่าแก่การมีไว้ประดับ หรือเหมาะกับการเก็บเป็นไว้เป็นสิ่งของที่มีคุณค่าทางจิตใจ

ปัจจุบัน ชุมชนวัดพวกแต้มยังคงมีสล่าทำคัวตองเพียง 5-7 คนเท่านั้น และมีไม่กี่คนที่ทำเป็นอาชีพหลัก ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ ‘ป้าน้อย’ เจ้าของผลงาน “คัวตอง” ลายฉลุแสนสวยงามสุดประณีต แห่ง Pastell Oldtown Chiang Mai ที่หลายคนได้เห็นกันนี่เองค่ะ

ป้าน้อย สล่าหรือช่างคัวตอง

บ้านของป้าน้อยห่างจากโรงแรมเพียงไม่กี่ก้าว ป้าน้อยคือสล่าที่ยังทำคัวตองมายาวนานต่อเนื่อง เพราะเป็นอาชีพที่ถูกส่งต่อมายังรุ่นต่อรุ่น ป้าน้อยจึงมีความผูกพันธ์กับงานคัวตอง และอยากสืบสานไว้ตามเจตนารมณ์ของบรรพบุรุษดั้งเดิมที่ต้องการให้หนุ่มสาวรุ่นใหม่ รู้จักที่จะอนุรักษ์ไว้เป็นสมบัติของชุมชนพวกแต้มต่อไป

วัดพวกแต้มจึงเปรียบเสมือนศูนย์กลางของชุมชน ที่คอยให้ความรู้เกี่ยวกับงานคัวตอง ทั้งประวัติความเป็นมา และประเภทของคัวตอง รวมไปถึงชิ้นงานคัวตองดั้งเดิมที่ถูกจัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์วัดพวกแต้มอีกจำนวนมาก เพื่อให้ผู้เข้าชมได้เรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับคัวตองได้ง่ายขึ้นค่ะ โดยชุมชนวัดพวกแต้ม อยู่ห่างจาก Pastell Oldtown Chiang Mai เพียง 46 เมตร เท่านั้น หากมีโอกาสได้มาพักผ่อน ก็เป็นอีกหนึ่งสถานที่ต้องห้ามพลาดเลยทีเดียวค่ะ

“คัวตอง” สัญลักษณ์ของชุมล้านนาดั้งเดิม

ด้วยเหตุนี้ “คัวตอง” จึงเป็นส่วนผสมที่ลงตัวของการบอกเล่าเรื่องราวผ่านกาลเวลาที่ Pastell Oldtown Chiang Mai ต้องการนำเสนอให้กับผู้ที่มาเข้าพักได้สัมผัส และเข้าถึงอารมณ์ของชาวล้านนาดั้งเดิมได้อย่างแท้จริง อีกทั้งเราต้องการให้ความสำคัญกับงานฝีมือล้านนาดั้งเดิมที่อาจจะสูญหายไปในไม่ช้า หากปล่อยให้เลือนหายไปตามกาลเวลา ให้คงอยู่กับชุมชนต่อไป

เพราะสำหรับชาวล้านนาแล้ว คัวตองยังคงมีความสำคัญต่อจิตใจของผู้คน และชาวเมืองที่พบเห็น คัวตอง ยังคงเป็นสัญลักษณ์ที่โดดเด่น และยังแสดงถึงความเป็นตัวตนของชาวล้านนาเมืองเก่าได้อย่างสมบูรณ์มากที่สุดค่ะ

Pastell Oldtown Chiang Mai กับเรื่องเล่าผ่านกาลเวลา

เพราะจุดเด่นของเรา คือการนำเสนออัตลักษณ์ความเป็นล้านนาดั้งเดิม ที่แฝงตัวอยู่ในชุมชนเก่าให้กลับมามีชีวิตชีวาและเป็นที่รู้จักอีกครั้งในสังคมสมัยใหม่ ผ่านเครื่องหมาย สัญลักษณ์ และการบอกเล่า

โต๊ะหน้าไม้โบราณจากแท่นทำคัวตอง

เราจึงเน้นการการตกแต่งภายในที่มีความเป็นล้านนา ผสมผสานเข้ากับความสมัยใหม่อย่างลงตัว และมีความธรรมชาติ สร้างบรรยากาศที่อบอุ่นกันเอง ด้วยการเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ที่สามารถบอกเล่าเรื่องราวในแต่ละชิ้นถึงวิถีชุมชนล้านนาดั้งเดิมได้อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นจักสาน ผ้าทอ งานถักสาน โต๊ะหน้าไม้โบราณจากแท่นทำคัวตองของป้าน้อยในชุมชน

เพื่อเป็นอีกหนึ่งตัวกลางที่สามารถเผยแพร่เรื่องราวของการอนุรักษ์ และสืบสานศิลปะวัฒนธรรมชุมชนพื้นถิ่น ให้กลายเป็นมรดกทางสังคมสืบต่อไปค่ะ